คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2558 – หน้าที่ของผู้จอดรถ

 

490556

 

ภาพจาก  http://carandschoolarea.blogspot.com/2014/07/blog-post_76.html

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4491/2558    –   หน้าที่ของผู้จอดรถ

บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด โจทก์

นายเสาร์ ผองผาย กับพวก จำเลย  

พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522   มาตรา  61

 

โจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่  1  ที่ จอดรถไว้ในช่องเดินรถช่องทางด่วนซ้ายสุดโดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน ไม่แสดงเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรอื่นใดไว้บริเวณท้ายรถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522   มาตรา  61   ปัญญัติไว้ว่า ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทาง เดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภทลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยที่ 2  มิได้นำสืบพยานหลักฐานใด ที่จะแสดงให้เป็นไปตามข้ออ้างว่าจำเลยที่ 1  ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่ปัญญัติไว้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งไม่นำสืบหักล้างให้เห็นได้ว่า ย. กระทำผิด โดยมีส่วนประมาทด้วยเช่นไร กรณีจึงต้องรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมด จำเลยที่  2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก็ในความเสียหายที่เกิดขึ้น

ปัญหาการจอดรถข้างทางเป็นปัญหาที่กระทบต่อการจราจรและเกิดปัญหาในหลายพื้นที่  เนื่องจากสภาพบางพื้นที่การจอดรถแล้วเป็นอุปสรรคต่อการจราจร และนอกจากนั้นบางครั้งยังทำให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อเจ้าหน้าที่จับกุมอย่างเคร่งครัดก็มักจะมีข้อโต้แย้งตามมาและเกิดเป็นข้อพิพาท

บางท่านจึงกล่าวไว้ว่าเป็นปัญหาระดับจิตสำนึกของการใช้ถนนร่วมกัน  เพราะการขับรถแท้จริงแล้วไม่ใช่เพียงคิดแต่ว่าเมื่อเอามือออกจากพวงมาลัยรถแล้วความรับผิดชอบต่อส่วนรวมจะหมดไป แต่ในการจอดรถควรคำนึงถึงสิ่งที่อาจเกิดอุบัติเหตุตามมาด้วย

โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่าแม้จะได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างเพียงพอแล้ว แต่ต้องดูประเด็นอื่นๆ ด้วยว่าสมควรจอดในที่ดังกล่าวหรือไม่  เช่น  หน้าร้านค้าดังกล่าวมีพื้นที่ให้เข้าไปจอดแล้ว แต่กลับไม่จอดไปจอดในลักษณะขวางเส้นทางการเดินรถอื่น กล่าวคือมีทางเลือกในการจอดที่ดีกว่าที่จะไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่กระทำ  ผู้เขียนมีความเห็นว่าลักษณะดังกล่าวก็ถือว่ามีความประมาทเช่นกัน ยกเว้นที่ที่ทำไว้ให้จอดมีคนจอดรถเต็มหรือมีเหตุอื่นๆ

สรุปแล้วการจอดรถควรพิจารณาดูตาม พ.ร.บ.จราจร  ได้กำหนดไว้เช่นไรบ้าง และนอกจากนี้อาจจะต้องดูตามกฎหมายอื่นๆ  ด้วย เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง  พ.ศ. 2535  เช่น    มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้อยู่ในรถยนต์หรือผู้ขับขี่หรือผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซื้อสินค้าที่ขายหรือจำหน่ายในสถานสาธารณะหรือบนถนนยกเว้นถนนส่วนบุคคล ซึ่งก็ยังเห็นกระทำความผิดกันอยู่ทั่วไป.

 

ใส่ความเห็น